วันจันทร์ที่ 25 กันยายน พ.ศ. 2560

  อาเซียน (ASEAN) เป็นการรวมตัวกันของ  10  ประเทศ   ในทวีปเอเชียตะวันออก
เฉียงใต้  ผู้นำอาเซียนได้ร่วมลงนามในปฎิญญาว่าด้วย  ความร่วมมืออาเซียนเห็นชอบ ให้จัดตั้ง  ประชาคมอาเซียน (ASEAN Community)    คือ   เป็นองค์กรระหว่างประเทศ ระดับภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้   มีจุดเริ่มต้นโดยประเทศไทย   มาเลเซีย และฟิลิปปินส์   ได้ร่วมกันจัดตั้ง   สมาคมอาสา (Association of South East Asia) เมื่อเดือน ก.ค.2504   เพื่อการร่วมมือกันทาง เศรษฐกิจ  สังคมและวัฒนธรรม  แต่ 
ดำเนินการ ไปได้เพียง 2 ปี ก็ต้องหยุดชะงักลง  เนื่องจากความผกผันทางการเมือง
ระหว่างประเทศอินโดนีเซียและประเทศมาเลเซีย จนเมื่อมีการฟื้นฟูสัมพันธ์ทางการฑูต
ระหว่างสองประเทศ
          จึงได้มีการแสวงหาหนทางความร่วมมือกันอีกครั้ง และสำเร็จภายในปี พ.ศ. 2563 (ค.ศ. 2020) แต่ต่อมาได้ตกลงร่นระยะเวลาจัดตั้งให้เสร็จในปี พ.ศ. 2558 (ค.ศ. 2015) ในปีนั้นเองจะมีการเปิดกว้างให้ประชาชนในแต่ละประเทศสามารถเข้าไปทำงานในประเทศ  อื่น ๆ ในประชาคมอาเซียนได้อย่างเสรี   เสมือนดังเป็นประเทศเดียวกัน
         ซึ่งจะมีผลกระทบต่อการประกอบอาชีพและการมีงานทำของคนไทย ควรทำความ
เข้าใจในเรื่องนี้จึงเป็นสิ่งสำคัญสำหรับทุกคน

องค์ความรู้ "ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (ASEAN Economic Community : AEC) >>ไปที่ http://www.thai-aec.com/

ความเป็นมาของอาเซียน
              สมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้  (Association  of  Southeast  Asian  Nations  หรือ  ASEAN)  ก่อตั้งขึ้นโดยปฏิญญากรุงเทพ  (Bangkok  Declaration)  หรือ  ปฏิญญาอาเซียน  (ASEAN  Declaration)  เมื่อวันที่  8  สิงหาคม  2510  โดยมีประเทศสมาชิก  5  ประเทศ  ประกอบด้วย  อินโดนีเซีย  มาเลเซีย  ฟิลิปปินส์  สิงคโปร์  และไทย
เพื่อส่งเสริมความร่วมมือทางด้านการเมือง  เศรษฐกิจและสังคม  ของประเทศในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้   ต่อมามีประเทศสมาชิกเพิ่มเติม  ได้แก่  บรูไนดารุส-ซาลาม   เวียดนาม   ลาว   เมียนมาร์  และกัมพูชา  ตามลำดับ   จึงทำให้ปัจจุบันอาเซียน   มีสมาชิก  10  ประเทศ

“อาเซียน” สู่การเป็นประชาคมอาเซียน  ในปี 2558
              ปัจจุบัน  บริบททางการเมือง  เศรษฐกิจ  และสังคม   รวมทั้งความสัมพันธ์ระหว่างประเทศได้เปลี่ยนแปลงไปอย่างมาก      ทำให้อาเซียนต้องเผชิญ สิ่งท้าทายใหม่ๆ    อาทิ    โรคระบาด    การก่อการร้าย   ยาเสพติด  การค้ามนุษย์  สิ่งแวดล้อม  ภัยพิบัติ  อีกทั้ง  ยังมีความจำเป็นต้องรวมตัวกันเพื่อเพิ่มอำนาจต่อรองและขีดความสามารถทางการแข่งขันกับประเทศในภูมิภาคใกล้เคียง  และในเวทีระหว่างประเทศ  ผู้นำอาเซียนจึงเห็นพ้องกันว่า  อาเซียนควรจะร่วมมือกันให้เหนียวแน่น  เข้มแข็ง  และมั่นคงยิ่งขึ้น  จึงได้ประกาศ  “ปฏิญญาว่าด้วยความร่วมมือในอาเซียน  ฉบับที่ 2”  (Declaration  of  ASEAN  Concord  II)  ซึ่งกำหนดให้มีการสร้างประชาคมอาเซียนที่ประกอบไปด้วย  3  เสาหลัก ได้แก่ 
              -  ประชาคมการเมืองและความมั่นคงอาเซียน (ASEAN Political and Security Community - APSC) มุ่งให้ประเทศกลุ่มสมาชิกอยู่ร่วมกันอย่างสันติสุข แก้ไขปัญหาระหว่างกันโดยสันติวิธี มีเสถียรภาพและความมั่นคงรอบด้าน เพื่อความมั่นคงปลอดภัยของเหล่าประชาชน
              -  ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (ASEAN Economic Community - AEC) มุ่งเน้นให้เกิดการรวมตัวกันทางเศรษฐกิจ และความสะดวกในการติดต่อค้าขายระหว่างกัน เพื่อให้ประเทศสมาชิกสามารถแข่งขันกับภูมิภาคอื่นๆได้โดย
              -   ประชาคมสังคมและวัฒนธรรมอาเซียน (ASEAN Socio - Cultural Community - ASCC) มุ่งหวังให้ประชากรอาเซียนมีสภาพความเป็นอยู่ที่ดี มีความมั่นคงทางสังคม มีการพัฒนาในทุกๆ ด้าน และมีสังคมแบบเอื้ออาร โดยจะมีแผนงานสร้างความร่วมมือ 6 ด้าน คือ การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ การคุ้มครองและสวัสดิการสังคม สิทธิและความยุติธรรมทางสังคม ความยั่งยืนด้านสิ่งแวดล้อม การสร้างอัตลักษณ์อาเซียน การลดช่องว่างทางการพัฒนา
              ซึ่งต่อมาผู้นำอาเซียนได้ตกลงให้มีการจัดตั้งประชาคมอาเซียนให้แล้วเสร็จเร็วขึ้นมาเป็นภายในปี 2558

ประชาคมอาเซียน คือ
              ประชาคมอาเซียน  (ASEAN  Community)  คือ  การรวมตัวของกลุ่มประเทศสมาชิกอาเซียนให้เป็นชุมชนที่มีความแข็งแกร่ง  สามารถสร้างโอกาสและรับมือส่งท้าท้าย  ทั้งด้านการเมืองความมั่นคง  เศรษฐกิจ  และภัยคุกคามรูปแบบใหม่  โดยสมาชิกในชุมชนมีสภาพความเป็นอยู่ที่ดี  สามารถประกอบกิจกรรมทางเศรษฐกิจได้อย่างสะดวกมากยิ่งขึ้น  และสมาชิก  ในชุมชนมีความรู้สึกเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน
ดวงตราอาเซียน เป็น สัญลักษณ์เพื่อแสดงถึงความเป็นอาเซียน โดยมีลักษณะเป็นรูปรวงข้าวสีเหลือง 10 ต้นมัดรวมกันไว้ บนพื้นหลังสีแดงอยู่ในวงกลมเส้นสีขาวและเส้นสีน้ำเงินซึ่งหมายถึง ประเทศสมาชิกรวมตัวกันเพื่อมิตรภาพและความเป็นหนึ่งเดียวกัน พื้นที่วงกลม สีแดง สีขาว และน้ำเงิน ซึ่งแสดง ถึงความเป็นเอกภาพ มีตัวอักษรคำว่า “asean” สีน้ำเงิน อยู่ใต้ภาพรวงข้าวอันแสดงถึงความมุ่งมั่นที่จะทำงานร่วมกันเพื่อความมั่นคง สันติภาพ เอกภาพ และความก้าวหน้าของประเทศสมาชิกอาเซียน ซึ่งสีที่ใช้ก็ให้ความหมายในลักษณะดังกล่าว
  • สีน้ำเงิน หมายถึง สันติภาพและความมั่นคง
  • สีแดง หมายถึง ความกล้าหาญ และความก้าวหน้า
  • สีขาว หมายถึง ความบริสุทธิ์
  • สีเหลือง หมายถึง ความเจริญรุ่งเรือง
อาเซียน รวมตัวกันเพื่อ ความร่วมมือกันทางการเมือง ความมั่นคง เศรษฐกิจ และวัฒนธรรม และได้มีการพัฒนาการเรื่อยมา จนถึงขณะนี้ที่เรามีกฎบัตรอาเซียน (ธรรมนูญ อาเซียน หรือ ASEAN Charter) ซึ่งเป็นเสมือนแนวทางการดำเนินงานที่จะนำไปสู่การเป็นประชาคมอาเซียนซึ่ง ประกอบด้วย 3 สิ่งหลักๆ คือ
  • การเมืองความมั่นคง
  • เศรษฐกิจ (AEC)
  • สังคมและวัฒนธรรม
วันที่22พฤศจิกายนปี2015ที่กัวลาลัมเปอร์ได้สร้างประวัติศาสตร์หน้าใหม่ให้แก่อาเซียนเมื่อผู้นำ10ชาติอนุมัติปฏิญญาว่าด้วยการจัดตั้งประชาคมอาเซียน อันเป็นการเสร็จสิ้นกระบวนการก่อตั้งและพัฒนาในตลอด48ปีเพื่อเปิดยุคใหม่แห่งการพัฒนาของประชาคม การก้าวเข้าสู่ประชาคมเดียวนั้นได้นำอาเซียนกลายเป็นองค์การภูมิภาคที่สามของโลกต่อจากประชาคมเศรษฐกิจยุโรปซึ่งก็คือสหภาพยุโรปและองค์การแอฟริกาเอกภาพซึ่งก็คือสหภาพแอฟริกาปัจจุบัน เป้าหมายของประชาคมอาเซียนคือสร้างสรรค์ประชาคมให้เป็นองค์กรร่วมมือระหว่างรัฐบาลที่กว้างลึกและมีความผูกพันกันมากขึ้นบนพื้นฐานของกฎบัตรอาเซียนและมีการขยายความร่วมมืออย่างกว้างขวางกับทั่วโลก
โอกาสและความท้าทาย
การจัดตั้งประชาคมอาเซียนได้นำมาซึ่งโอกาสที่ดีในหลายด้านให้แก่ประเทศสมาชิกโดยก่อนอื่นคือโอกาสทางเศรษฐกิจ โดยประชาคมอาเซียนเปิดตัวพร้อมความคาดหวังจะพัฒนาภูมิภาคที่มีประชากรกว่า600ล้านคนให้กลายเป็นตลาดร่วม เป็นฐานผลิตร่วมที่สินค้า การบริการ การลงทุน เงินทุนและแรงงานมีฝีมือสามารถหมุนเวียนได้อย่างเสรี ประชาคมอาเซียนจะช่วยผลักดันการเชื่อมโยงในภูมิภาคและเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันเพื่อรับมือกับความท้าทายใหม่ในโลกโดยเฉพาะในภูมิภาคที่มีเศรษฐกิจที่เพิ่งโดดเด่นอย่างจีนและอินเดีย โดยตามข้อมูลสถิติในรอบ3ปีที่ผ่านมา อาเซียนสามารถดึงดูดเงินลงทุนจากต่างประเทศหรือเอฟดีไอได้จำนวนมากและท่ามกลางแนวโน้มการลดลงของเอฟดีไอในทั่วโลกและภาวะเศรษฐกิจโลกที่ขยายตัวไม่เท่าเทียมกันนั้นจำนวนเอฟดีไอที่ไหลเข้าอาเซียนถือว่ามากที่สุดในโลก นอกจากนี้การปรับปรุงบรรยากาศการลงทุนและกระบวนการผสมผสานของอาเซียนเพื่อก้าวไปสู่ประชาคมในปัจจุบันได้มีส่วนร่วมสร้างการดึงดูดเงินเอฟดีไอให้ไหลเข้าอาเซียนมากขึ้น
            อย่างไรก็ดี อาเซียนยังแสดงออกถึงจุดที่ต้องแก้ไขและที่เด่นชัดที่สุดคือช่องว่างการพัฒนาระหว่างประเทศสมาชิก ซึ่งอาจจะส่งผลให้กระบวนการพัฒนาจัดตั้งเขตการค้าเสรีในภูมิภาคช้าลงและต้องประสบอุปสรรคในการปฏิบัติคำมั่นกับหุ้นส่วนต่างๆนอกกลุ่ม นอกจากนั้นการผสมผสานด้านผลประโยชน์แห่งชาติกับผลประโยชน์ของทั้งประชาคมก็เป็นอีกปัญหาที่ต้องแก้ไข
   ตลอดระยะเวลาหลายปีที่ผ่านมา  เอเชียได้ก้าวเข้ามามีบทบาทสำคัญต่อเศรษฐกิจโลกมากขึ้นตามลำดับ  ดังคำกล่าวที่ว่า “เอเชียเปรียบเสมือนอู่ข้าวอู่น้ำของโลก”  มูลค่าการส่งออกและนำเข้าของเอเชียคิดเป็นสัดส่วนราว 1 ใน 4 ของมูลค่าการส่งออกและนำเข้ารวมของโลก  ทำให้หลายฝ่ายมองว่าเอเชียกำลังก้าวเข้ามาเป็นกลไกหลักในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจของโลกตัวใหม่  ถนนทุกสายกำลังมุ่งหน้าสู่เอเชียไม่ว่าจะเป็นการค้า  การลงทุน รวมถึงเงินทุน  เรียกได้ว่าโลกกำลังเข้าสู่ยุคสมัยแห่งเอเชียอย่างแท้จริง
ประเทศไทยเป็นหนึ่งประเทศที่ทั่วโลกกำลังจับตามอง  ซึ่งประเทศไทยเองควรต้องรู้จักใช้ประโยชน์จากยุคสมัยแห่งเอเชียให้เต็มประสิทธิภาพ  แนวทางหนึ่งที่จะผลักดันการขยายตัวทางเศรษฐกิจไทยได้อย่างเต็มที่ คือการรวมกลุ่มเป็นประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (ASEAN Economic Community: AEC) ซึ่งจะทำให้ประเทศไทยสามารถใช้ประโยชน์จากตลาดขนาดใหญ่ได้มากขึ้น
ก่อนที่ผู้เขียนจะได้นำเสนอทัศนะเกี่ยวกับอนาคตประเทศไทยสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (AEC) นั้น  ผู้เขียนขออนุญาตอธิบายรายละเอียดความเป็นมานับตั้งแต่การก่อตั้งอาเซียน หรือ สมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้(Association of Southeast Asian Nations : ASEAN) จนได้วิวัฒนาการมาสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน  เพื่อเป็นการปูพื้นฐานความเข้าใจให้แก่ผู้อ่านมากยิ่งขึ้น
AEC เกิดขึ้นจากการก่อตั้งอาเซียน หรือ สมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (Association of Southeast Asian Nations : ASEAN) ตั้งแต่ปี 2510 ตามปฏิญญาอาเซียน หรือปฏิญญากรุงเทพฯ โดยทิศทางการวางแผนด้านเศรษฐกิจของอาเซียนเริ่มชัดเจนมากขึ้นหลังจากการประชุมสุดยอดผู้นำอาเซียนครั้งแรกเมื่อเดือนกุมภาพันธ์ 2519 โดยผู้นำอาเซียน 5 ประเทศ ได้ลงนามร่วมกันในเอกสารสำคัญ 2 ฉบับได้แก่ Declaration of ASEAN และ Treaty of Amity and Cooperation in Southeast Asia ที่ระบุความร่วมมือทางเศรษฐกิจหลายด้านเพื่อการดำเนินการต่อไป  ต่อมาในช่วงปี 2521- 2540 อาเซียนได้ขยายความร่วมมือในส่วนที่เกี่ยวข้องกับการรวมกลุ่มทางเศรษฐกิจอย่างเป็นรูปธรรมมากขึ้น  ความตกลงที่สำคัญที่สุดคือ การจัดตั้ง “เขตการค้าเสรีอาเซียน” (ASEAN Free Trade Area : AFTA) การเจรจาเพื่อตกลงจัดทำเขตการค้าเสรีได้ทำให้เกิดความร่วมมือทางเศรษฐกิจในระดับภูมิภาคและยังขยายออกไปนอกภูมิภาค  วิวัฒนาการนี้ได้ดำเนินต่อมาจนถึงปัจจุบัน
จุดเปลี่ยนสำคัญสำคัญสำหรับการจำตั้ง AEC เกิดขึ้นในช่วงระหว่างปี 2541 – 254 เนื่องจากได้เกิดวิกฤตการเศรษฐกิจโลกถดถอยอย่างรุนแรง   ทำให้อาเซียนจำเป็นต้องวางแผนดำเนินงานด้านเศรษฐกิจให้ชัดเจนยิ่งขึ้นเพื่อเสริมสร้างความแข็งแกร่งและความสามารถในการแข็งขันของภูมิภาค  ผู้นำอาเซียนจึงได้เห็นชอบต่อแผนปฏิบัติฮานอย (Hanoi Plan of Action) ในปี 2541 เพื่อใช้เป็นแผนการดำเนินงานให้บรรลุวิสัยทัศน์อาเซียน  ประกอบกับกระแสความเจริญด้านเทคโนโลยีโลกาภิวัฒน์  และความล่าช้าในการเจรจาพหุภาคีจอง WTO  ทำให้อาเซียนเข้าสู่การเจรจาจัดทำเขตการค้าเสรีกับประเทศต่าง ๆ ทั้งในและนอกภูมิภาคตามที่ได้กล่าวไปข้างต้น  นอกจากนี้ประเทศจีนและอินเดียเข้ามามีบทบาทอย่างมากในภูมิภาคในช่วง 3-5 ปี ที่ผ่านมาและเป็นแหล่งดึงดูดในด้านเศรษฐกิจสำคัญ  ซึ่งเมื่อเปรียบเทียบกับประเทศอาเซียนแต่ละประเทศที่มีเศรษฐกิจเล็กมาก
ด้วยเหตุดังกล่าวจึงเป็นปัจจัยหนึ่งที่ทำให้อาเซียนต้องเร่งดำเนินการรวมกลุ่มภายในระหว่างประเทศสมาชิกให้แข็งแกร่งยิ่งขึ้นเพื่อนำไปสู่การเป็นประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนในลักษณะคล้ายคลึงกับประชาคมเศรษฐกิจยุโรป(European Economic Community:  EEC)  ผู้นำอาเซียนในขณะนั้น  จึงได้ประกาศให้การรวมกลุ่มต้องเสร็จสิ้นภายในปี 2563 ตามแถลงการณ์บาหลี ฉบับที่ 2 (Bali Concord II) เมื่อวันที่ 7 ตุลาคม 2546  กระทั่งในปี 2550 ผู้นำอาเซียนได้เร่งรัดเป้าหมายของการจัดตั้งประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน  จากเดิมที่กำหนดเป้าหมายไว้ในปี 2563 เป็นปี 2558 เพื่อให้ทันต่อสถานการณ์ทางเศรษฐกิจโลกที่เปลี่ยนแปลงไปและได้ลงนามในกฎบัตรและปฏิญญาว่าด้วยแผนงานการจัดตั้งประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (ASEAN Economic Community Blueprint) ซึ่งจะเป็นแผนงานสำหรับการดำเนินการตามพันธกรณีต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องเพื่อนำไปสู่การจัดตั้ง AEC ต่อไป เมื่อเดือนพฤศจิกายน 2550
AEC Blueprint
AEC Blueprint มีวัตถุประสงค์สำคัญเพื่อกำหนดทิศทางและแผนงาน  ในด้านเศรษฐกิจที่จะต้องดำเนินการให้ชัดเจนตามกรอบระยะเวลาที่กำหนด  จนบรรลุเป้าหมายของ AEC ในปี 2558 (ค.ศ.2015) และสร้างพันธะสัญญาระหว่างประเทศสมาชิกที่จะดำเนินการไปสู่เป้าหมายดังกล่าวร่วมกัน  ประกอบด้วย 4 ส่วนหลัก  กล่าวคือ
  1. การเป็นตลาดและฐานการผลิตเดียว (Single market and Production base) :  ให้การเคลื่อนย้ายสินค้า  บริการ  การลงทุน  แรงงานและเงินทุนอย่างเสรีมากขึ้น โดยมีเป้าหมายคือ ลดอุปสรรคในการเข้าสู่ตลาดในด้านต่าง ๆ ลงและเพิ่มสัดส่วนการถือหุ้นให้กับบุคคล/นิติบุคคลสัญชาติอาเซียน
  2. การสร้างขีดความสามารถในการแข่งขันทางเศรษฐกิจของอาเซียน : โดยใช้มาตรการยกเลิกภาษีสินค้าให้กับประเทศสมาชิกอาเซียน ตลอดจนการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานทางเศรษฐกิจ
  3. การพัฒนาเศรษฐกิจอย่างเสมอภาค : เพื่อเป็นการลดช่องว่าวของระดับการพัฒนาระหว่างประเทศสมาชิกทั้งเก่าและใหม่  พร้อมทั้งสนับสนุน SMEs และร่วมมือกันในโครงการต่างๆ เช่น ความร่วมมือด้านการเกษตร อาหารและป่าไม้  ทรัพย์สินทางปัญญา  การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านการคมนาคมและ เทคโนโลยีสารสนเทศ  ความร่วมมือด้านพลังงาน เป็นต้น
  4. การบูรณาการเข้ากับเศรษฐกิจโลก : ส่งเสริมการรวมกลุ่มเข้ากับประชาคมโลก  ด้านนโยบายเศรษฐกิจของอาเซียนกับประเทศภายนอกภูมิภาค
ประโยชน์และผลกระทบของประเทศไทยจาก AEC Blueprint
ปัจจุบันอาเซียนนับเป็นตลาดส่งออกสำคัญอันดับหนึ่งของไทยมากกว่า EU หรือ US หรือญี่ปุ่น  และมีแนวโน้มขยายตัวอย่างต่อเนื่อง   ในด้านการค้าและการลงทุนอาเซียนจัดเป็นตลาดสำคัญและมีศักยภาพ  ด้วยประชากรราว 600 ล้านคน  มีมูลค่าผลิตภัณฑ์มวลรวมประชาชาติ  รวมกันกว่า 1.6 ล้านล้านเหรียญสหรัฐ  นับเป็นกลุ่มทางเศรษฐกิจที่มีขนาดใหญ่กลุ่มหนึ่งของโลก

  อาเซียน (ASEAN) เป็นการรวมตัวกันของ  10  ประเทศ   ในทวีปเอเชียตะวันออก เฉียงใต้  ผู้นำอาเซียนได้ร่วมลงนามในปฎิญญาว่าด้วย  ความร่วมมืออ...