วันจันทร์ที่ 25 กันยายน พ.ศ. 2560

วันที่22พฤศจิกายนปี2015ที่กัวลาลัมเปอร์ได้สร้างประวัติศาสตร์หน้าใหม่ให้แก่อาเซียนเมื่อผู้นำ10ชาติอนุมัติปฏิญญาว่าด้วยการจัดตั้งประชาคมอาเซียน อันเป็นการเสร็จสิ้นกระบวนการก่อตั้งและพัฒนาในตลอด48ปีเพื่อเปิดยุคใหม่แห่งการพัฒนาของประชาคม การก้าวเข้าสู่ประชาคมเดียวนั้นได้นำอาเซียนกลายเป็นองค์การภูมิภาคที่สามของโลกต่อจากประชาคมเศรษฐกิจยุโรปซึ่งก็คือสหภาพยุโรปและองค์การแอฟริกาเอกภาพซึ่งก็คือสหภาพแอฟริกาปัจจุบัน เป้าหมายของประชาคมอาเซียนคือสร้างสรรค์ประชาคมให้เป็นองค์กรร่วมมือระหว่างรัฐบาลที่กว้างลึกและมีความผูกพันกันมากขึ้นบนพื้นฐานของกฎบัตรอาเซียนและมีการขยายความร่วมมืออย่างกว้างขวางกับทั่วโลก
โอกาสและความท้าทาย
การจัดตั้งประชาคมอาเซียนได้นำมาซึ่งโอกาสที่ดีในหลายด้านให้แก่ประเทศสมาชิกโดยก่อนอื่นคือโอกาสทางเศรษฐกิจ โดยประชาคมอาเซียนเปิดตัวพร้อมความคาดหวังจะพัฒนาภูมิภาคที่มีประชากรกว่า600ล้านคนให้กลายเป็นตลาดร่วม เป็นฐานผลิตร่วมที่สินค้า การบริการ การลงทุน เงินทุนและแรงงานมีฝีมือสามารถหมุนเวียนได้อย่างเสรี ประชาคมอาเซียนจะช่วยผลักดันการเชื่อมโยงในภูมิภาคและเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันเพื่อรับมือกับความท้าทายใหม่ในโลกโดยเฉพาะในภูมิภาคที่มีเศรษฐกิจที่เพิ่งโดดเด่นอย่างจีนและอินเดีย โดยตามข้อมูลสถิติในรอบ3ปีที่ผ่านมา อาเซียนสามารถดึงดูดเงินลงทุนจากต่างประเทศหรือเอฟดีไอได้จำนวนมากและท่ามกลางแนวโน้มการลดลงของเอฟดีไอในทั่วโลกและภาวะเศรษฐกิจโลกที่ขยายตัวไม่เท่าเทียมกันนั้นจำนวนเอฟดีไอที่ไหลเข้าอาเซียนถือว่ามากที่สุดในโลก นอกจากนี้การปรับปรุงบรรยากาศการลงทุนและกระบวนการผสมผสานของอาเซียนเพื่อก้าวไปสู่ประชาคมในปัจจุบันได้มีส่วนร่วมสร้างการดึงดูดเงินเอฟดีไอให้ไหลเข้าอาเซียนมากขึ้น
            อย่างไรก็ดี อาเซียนยังแสดงออกถึงจุดที่ต้องแก้ไขและที่เด่นชัดที่สุดคือช่องว่างการพัฒนาระหว่างประเทศสมาชิก ซึ่งอาจจะส่งผลให้กระบวนการพัฒนาจัดตั้งเขตการค้าเสรีในภูมิภาคช้าลงและต้องประสบอุปสรรคในการปฏิบัติคำมั่นกับหุ้นส่วนต่างๆนอกกลุ่ม นอกจากนั้นการผสมผสานด้านผลประโยชน์แห่งชาติกับผลประโยชน์ของทั้งประชาคมก็เป็นอีกปัญหาที่ต้องแก้ไข

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

  อาเซียน (ASEAN) เป็นการรวมตัวกันของ  10  ประเทศ   ในทวีปเอเชียตะวันออก เฉียงใต้  ผู้นำอาเซียนได้ร่วมลงนามในปฎิญญาว่าด้วย  ความร่วมมืออ...